อังคาร. พ.ย. 5th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

สาธารณสุข จ.สระบุรี เร่งรัดกำจัดโรคหัดของประเทศไทยให้หมดไปจัดกิจกรรมรณรงค์ให้วัคซีนแก่เด็กอายุ 1–12 ปี

1 min read

นายแพทย์รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร นายแพทย์สาธารณสุขสระบุรี ร่วมกับ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่4สระบุรีและโรงพยาบาลสระบุรี ได้จัดกิจกรรมฉีดวัคซีนให้กับเด็กที่ได้รับวัคซีนที่โรงเรียนอนุบาลสระบุรีร่วมกันป้องกัน ซึ่งโรคหัด เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้ตระหนักถึงโรคหัดและร่วมกันป้องกัน ซึ่งโรคหัดเป็นไข้ออกผื่น มักพบได้ตลอดทั้งปี แต่มักมักเกิดในช่วงอากาศหนาวเย็นมากที่สุด

ด้าน นายแพทย์รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร นายแพทย์สาธารณสุขสระบุรี กล่าวว่าตามที่ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 63 (World Health Assembly : WHA) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อปี 2553 และได้เห็นชอบ ในข้อตกลงระหว่างประเทศในการสนับสนุนโครงการกำจัดโรคหัด โดยกำหนดเป้าหมายให้อุบัติการณ์ของโรคหัดไม่เกิน 1 ต่อประชากรล้านคน และไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ สถานการณ์โรคหัดประเทศไทย ปี 2562 ผู้ป่วยสงสัยโรคหัด จำนวน 7,470 ราย ผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 2,861 ราย ผู้ป่วยที่มีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา จำนวน 1,334 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 21 ราย

โรคหัด เกิดจาก เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Measles โดยเชื้อจะมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อหัดจะมีระยะฟักตัวของโรคจนเกิดอาการ (ระยะก่อนออกผื่น) 8-12 วัน เฉลี่ยจากวันที่สัมผัสจนถึงมีผื่นเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มด้วยมีไข้ร่วมกับอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูกไหล ไอบ่อย ตาแดง ตาแฉะ ปากแดง อาการต่างๆ จะเป็นมากขึ้นพร้อมกับไข้ที่สูงขึ้น อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดินในระยะก่อนที่จะมีผื่นขึ้น หลังจากมีไข้ 3 ถึง 4 วันจะเริ่มมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งในระยะแรกผื่นจะมีสีแดง เริ่มเห็นผื่นขึ้นที่บริเวณตีนผมและซอกคอก่อนเป็นอันดับแรกแล้วลามไปตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง เมื่อใกล้หายผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลแดง การรักษาตามอาการเหมือน โรคไข้หวัด เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่น ๆ เช่น ยาแก้ไอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ สามารถให้การดูแลอยู่ที่บ้านได้ในเบื้องต้น นอกเหนือจากการรักษาตามอาการแล้วปัจจุบันแนะนำให้รักษาด้วยวิตามินเอในผู้ป่วยโรคหัดทุกรายเป็นเวลา 2 วัน แต่หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้น คือ มีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียวหรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรจะพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคอุจจาระร่วง หูชั้นกลาง ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยมักพบในระยะหลังของโรคซึ่งไข้เริ่มทุเลาลงแล้วเชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และติดต่อเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้โดยทั่วไปผู้ป่วยเป็นหัดจะแพร่เชื้อได้นานจนถึง4วันหลังผื่นขึ้น

นอกจากการป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยแล้ว โรคหัดสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งปัจจุบันเป็นวัคซีนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคนจากเดิมวัคซีนป้องกันโรคหัดจะให้ใน 2 ช่วงอายุ คือ เข็มแรก ให้ในเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 2-1/2 ปี จากความเสี่ยงของการระบาดโรคหัดจึงต้องณรงค์โดยกลุ่มเป้าหมาย ให้วัคซีนแก่เด็กอายุ 1–12 ปี ทั่วประเทศ ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาติ ชนิดวัคซีน เด็กอายุ 1 – ต่ำกว่า 7 ปี ให้วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) เด็กอายุ 7 – 12 ปี ให้วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน (MR)ชึ่งกิจกรรมในวันนี้ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศประกอบด้วยการฉีดวัคซีนกลุ่มเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือเคยรับแต่ไม่ครบ กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคหัดทั้งนี้เพื่อให้โรคหัดหมดไป

ภาพ/ข่าว สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงาน สระบุรี

Loading…

More Stories

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.