“เต้ มงคลกิตติ์” โพสต์ ยินดี กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หน.ปชป คนที่ 9
1 min read วานนี้เมื่อ 9 ธันวาคม 2566 ผม นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ-อดีตหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ก่อนอื่น ผมขอ แสดงความยินดี กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์-อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือ พี่ต่อ ของน้องๆเพื่อนๆนักการเมืองด้วยกันเรียก ผมรู้จักกับพี่ต่อมาร่วม 10 กว่าปี ตั้งแต่ทำ NGO เดิมทีเท่าที่ผมทราบ พี่ต่อเป็นคนรักษาคำพูดอย่างมาก ไม่ใช่ดีแต่พูด พูดคำไหน คำนั้นตลอด เป็นนักปฏิบัติที่ดี ไม่เคยผิดคำพูด ทั้งพี่ๆน้องๆและประชาชน ข้าราชการในกำกับที่เคยบริหารงานมา รักพวกพ้องเป็นนักการเมืองน้ำดีที่มีน้อยมาก ไม่ค่อยพูด ถ้าพูดแล้วจะรักษาคำพูด รักษาสัจจะ จึงทำให้ เพื่อน สส. อดีต สส.รัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรี ข้าราชการ ประชาชน ใครได้คบหาสมาคมด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกัน คือ พี่ต่อเป็นคนคบได้คนหนึ่งเลย ช่วงก่อนเลือกตั้ง ปี 2566 ที่ผ่านมา พี่ต่อเคยปราศัยหาเสียงไว้ว่า ถ้าได้ ส.ส.ต่ำกว่า 52 ที่นั่ง จะเลิกทำการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งพอผลการเลือกตั้งออกมา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เพียง 25 ที่นั่ง ทุกคนในพรรคประชาธิปัตย์ และ พี่ๆน้องๆ เพื่อน สส. อดีต สส. ในพรรค-นอกพรรค ก็ทราบว่า พี่ต่อเลิกทำการเมือง หันหน้าไปทำธุรกิจและดูแลครอบครัวแล้ว รอเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เพื่อมารับงานต่อ แต่ปรากฏว่า การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ 2 ครั้ง ล่มไม่เป็นท่า เนื่องจาก เกิดการแข่งขันของ 2 ฝ่าย ระหว่าง คนรุ่นเก่าแก่สนับสนุน และ คนรุ่นใหม่สนับสนุน สุดท้ายก็ไม่สามารถประชุมพรรคได้สำเร็จ ตั้งแต่รอบที่ 1 เมื่อ 9 กรกฏาคม 2566 และ รอบที่ 2 เมื่อ 6 สิงหาคม 2566 เพราะมีการทำให้องค์ประชุมไม่ครบ เพราะมีการวอร์คเอ้าท์ ซึ่งใน 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่ต่อทำหน้าที่เพียงรักษาการกรรมการบริหารพรรค จัดประชุมให้ผ่านพ้นไปตาม พรป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 เพื่อป้องกันการยุบพรรค ถ้าประชุมไม่สำเร็จภายใน 1 ปี แค่เพียงเพื่อส่งต่องานบริหารพรรคให้กับคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เท่านั้น และ ก็เลิกทำการเมือง ตามที่พูดไว้ จะสังเกตุว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาทั้ง 2 ครั้ง ไม่มีชื่อพี่ต่อ เป็น คณะกรรมการบริหารพรรคที่จะลงแข่งขันเลย เพียงแต่ว่าแต่ละฝ่ายก็อยากให้พี่ต่อสนับสนุน แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าหากปล่อยให้การประชุมล่มเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 9 ธันวาคม 2566 พรรคจะเสียหายมากกว่านี้ อาจถึงขั้นต้องยุบพรรค และ สส.ในพรรคต้องย้ายสังกัดไปอยู่พรรคอื่น จึงเป็นที่มาของ ส.ส.ส่วนใหญ่ในพรรคกว่า 21 ท่าน และ อดีต ส.ส. ประธานสาขา จำนวนมาก มีมติ บังคับ ให้พี่ต่อมาเป็นหัวหน้าพรรค บังคับให้พี่ต่อเสียสัตย์เสียสละเพื่อรักษาพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ มาประคองพรรค ทำให้พรรคไม่แตก ยังคงมีความเป็นบึกแผ่น มีความสามัคคีเป็นส่วนใหญ่ พรรคยังสามารถทำประโยชน์เพื่อประชาชนได้เหมือนอดีตที่ผ่านมา
นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า ผม ใน ฐานะคนนอก เคยเป็น หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์มาก่อน กว่า 5 ปี จึงทราบความรู้สึกแบบนี้มาก่อน การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ชุดใหม่ มันจบลงแล้ว ได้ผู้บริหารพรรคครบถ้วน ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค-ผู้ถูกเสนอชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค พร้อมทั้งผู้เสนอ ผู้สนับสนุน ถ้ามีความเป็นผู้ใหญ่ มีสปิริตมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ก็ควรให้กำลังกาย-กำลังใจ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 พร้อมทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ให้ฟื้นความศรัทธา ความเชื่อมั่นกับประชาชนให้กลับมาเป็นที่พึ่งหวังของประชาชนได้เหมือนแต่เก่าก่อน ในอดีต ไม่ควรผูกใจเจ็บ เจ้าคิดเจ้าแค้น ตำหนิ หัวหน้าพรรค ตำหนิ สส.ของพรรค ตำหนิพรรคให้เสียหาย หรือ สุภาษิตเรียกว่า “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” สิ่งนี้ถือเป็นการทำลายพรรคอย่างมาก หรือ การเป็นปฏิปักษ์กับพรรคอย่างร้ายแรง คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ก็สามารถตักเตือนบุคคลนั้น ครั้งที่ 1-2 หรือ ถ้าไม่ฟังกัน ก็อาจถึงขั้นลงมติขับบุคคลนั้นออกจากพรรคเสีย ก่อนที่พรรคจะเสียหายไปมากกว่านี้
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคเก่าแก่ เปรียบได้เหมือน พ่อ แม่ ผู้ให้กำเนิดทั้ง สส.-รัฐมนตรี-ประธานสภาผู้แทนราษฏร-นายกรัฐมนตรี หลายต่อหลายคน กว่า 77 ปี ตำหนิพรรค ตำหนิคณะกรรมการบริหารพรรค ก็เหมือนต่อว่าบุพการี คนๆนั้นก็คือ คนอกตัญญู พรรคประชาธิปัตย์ มีทั้งช่วงรุ่งเรืองมาก รุ่งเรืองปานกลาง ล้มเหลวมาก ล้มเหลวปานกลาง ผ่านร้อนหนาวมาหลายยุคหลายสมัย ก็เป็นไปตามสภาวะสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นๆ
ในมุมของผม ผมขอให้กำลังใจ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 พร้อม คณะกรรมการบริหารพรรค ให้ฟื้นศรัทธาของประชาชนให้กลับคืนมาโดยเร็ว ด้วยการทำงานให้ประชาชนได้สัมผัสได้ ไม่ว่าจะฐานะ ฝ่ายค้าน หรือ ฝ่ายรัฐบาล ก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่ผมมองว่าเป็นพรรคที่ไม่มีเจ้าของพรรค ใครที่อยากมาทำงานการเมืองเพื่อประชาชนก็สามารถอาสาเข้าไปทำงานได้ถ้าตั้งใจจริง ไม่เกี่ยงที่มาของฐานะ แม้ลูกแม่ค้าตลาดนัด ยังประสบความสำเร็จ เป็นถึง นายกรัฐมนตรี ถึง 2 สมัย เป็น ประธานสภาผู้แทนราษฏร ถึง 2 สมัย ไม่เหมือนพรรคอื่นๆ ที่เป็นพรรคครอบครัว หรือ พรรคสืบทอดอำนาจ หรือ พรรคเจ้าสัว ที่ยึดติดกับเจ้าของพรรค พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคแรกๆ ที่ผมคิดอยากจะทำงานทางการเมืองเพื่อประชาชนอีกครั้งต่อไป
Loading…