คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ติดตามคดีครูทำร้ายเด็กพิเศษ
1 min readจันทบุรี คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ติดตามคดีครูทำร้ายเด็กพิเศษ
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 น. ที่ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี นายวรกร ไหลหลั่ง ประธาน อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการสิทธิ์มนุษยชนด้านคนพิการ ทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะกรรมการ ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยมี นางสาวชุลีวรรณ ประสาทพันธ์ ผอ. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป,ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดจันทบุรี พร้อมผู้ เสียหาย จำนวน 5 ราย เดินทางมาพบ พตท. ธีรวัฒน์ ชุมจันทร์ รองผู้กำกับสอบสวน สภ. เมืองจันทบุรี ติดตามความคืบหน้า กรณี เรื่องร้องเรียนจากผู้ปกครองเด็กพิเศษในจังหวัดจันทบุรีว่าเด็กพิเศษถูกครู ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรีทำร้าย และลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุ จนส่งผลต่อสภาพจิตใจ ของเด็ก
สืบเนื่องเนื่องจากเมื่อช่วงเดือน สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นางสาว ชุลีวรรณ ประสาทพันธ์ ผอ. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดจันทบุรี ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ปกครองเด็กพิเศษ ว่าบุตรถูกครูผู้ช่วยของโรงเรียน ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กในโรงเรียน ทำร้ายร่างกาย และทารุณกรรมเด็ก มีผลทำให้สภาพจิตใจ พฤติกรรมความประพฤติเปลี่ยนไป โดยมีอาการหวาดกลัว โวยวาย ซึ่งทำมีผลต่อการรักษาของแพทย์เด็กทางสติปัญญาและเด็กไม่ยอมไปโรงเรียน จึงต้องเดินทางไปพบจิตแพทย์
จากการตรวจสอบของจิตแพทย์ พบว่าเด็กพิเศษทั้ง 5 ราย มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจริง จนสืบทราบว่า ถูกครูที่โรงเรียน ลงโทษเกินกว่าเหตุจนส่งผลต่อสภาพจิตใจเด็ก จึงเดินทางมาแจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน พร้อมพยานและหลักฐานไว้แล้วนั้น พร้อมกับ ร้องไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรีเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบ พฤติกรรมของครูคนดังกล่าว
ต่อมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ทางผู้ปกครองได้รับหนังสือชี้แจงจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดจันทบุรี ว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 รายละเอียดดังนี้
- กรณีข้าราชการครูและพี่เลี้ยงเด็กพิการโรงเรียน ได้ลงโทษนักเรียนด้วยวิธีรุนแรง และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อนักเรียน ซึ่งผู้เสียหายเป็นนักเรียนที่มีความผิดปกติ ทางสติปัญญา คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงจึงไม่อาจสอบปากคำนักเรียนซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ ประกอบกับ เหตุการณ์ที่กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นข้าราชการครูและพี่เลี้ยงเด็กพิการได้ลงโทษหรือใช้ความรุนแรงและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อผู้เสียหายได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2566 จึงตรวจสอบร่องรอยบาดแผลบนร่างกายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำร้ายได้
- กรณีร้องเรียน ครูการศึกษาพิเศษ ติดภารกิจอื่นในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่อาจฟังได้ว่าครู มีพฤติกรรมทำร้ายนักเรียน โดยการเตะและและผลักร่างกายของ นักเรียน
- กรณีร้องเรียน พี่เลี้ยงเด็กพิการ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
(1.) มีพฤติกรรมการพูดลักษณะข่มขู่ ตะคอก และใช้เสียงดังในการดูแลนักเรียน และป้อนอาหารโดยใช้มือบีบที่ปากของนักเรียนในลักษณะบังคับให้นักเรียนทานอาหาร อันอาจส่งผลให้กระทบ ต่อจิตใจของนักเรียนการศึกษาพิเศษซึ่งเป็นเด็กพิการด้านสติปัญญา
(2.) พี่เลี้ยงเด็กพิการ ได้ขออนุญาตลาออก เพื่อไปดูแลมารดา และได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ลาออกได้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 67 จึงมีผลทำให้สัญญาจ้างเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 67 บุคคลดังกล่าวจึงมิได้เป็นที่เลี้ยงเด็กพิการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 67 เป็นตันไป - โรงเรียนได้ดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ เพื่อให้เป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยสำหรับนักเรียน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง โดยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
- ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าพบจิตแพทย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า๑) ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าพบจิตแพทย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า ผู้ทำการรักษา นักเรียนผู้เสียหาย ระดับชั้นมั้ยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อขอคำแนะนำ เกี่ยวกับวิธีการดูแลและจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมในเบื้องตัน และนำคำแนะนำของแพทย์โปฏิบัติต่อนักเรียนการศึกษาพิเศษทุกชั้นเรียน
- โรงเรียนรับข้อเสนอจากผู้ปกครองให้ปรับการศึกษาพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่แจ้งความประสงค์ขอให้นักเรียนได้ศึกษาในรูปแบบออนไลน์ รับแบบฝึกหัดจากโรงเรียนนำมาทำที่บ้าน ซึ่งโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามความประสงค์
- โรงเรียนดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดภายในห้องเรียนการศึกษาพิเศษแล้วทุกห้องเรียน
- โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนการศึกษาพิเศษตามบริบทของเด็กนักเรียนการศึกษาพิเศษในชั้นเรียนแล้วทุกห้องเรียน
ด้าน พตท. ธีรวัฒน์ ชุมจันทร์ รองผู้กำกับสอบสวน สภ. เมืองจันทบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้เชิญตัว ผู้ถูกกล่าวหาและ พยานแวดล้อมมาสอบปากคำ เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งรวบรวมหลักฐาน คลิปเสียงเตรียมยื่นต่ออัยการเพื่อตรวจสอบ ผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ก่อนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
การติดตามคดีในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปกป้องสิทธิของเด็กพิเศษและความใส่ใจในการดูแลผู้ด้อยโอกาสในสังคม
กิตติพงศ์ คงคาลัย จันทบุรี
Loading...