ชาวบ้านวังหิน แห่บุญผะเหวดเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น (มีคลิป)
1 min readผู้สื่อข่าวรายงานที่บริเวณวัดยางงาม บ้านน้ำอ้อม หมู่3 ต.วังหิน อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ นายวรวุฒิ อินตะมะ นายอำเภอวังโป่ง และนางเยาวภา โตสงวน วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก ครั้งที่8” บุญผะเหวดหรือบุญพระเวส เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ชุมชนวัดยางงามได้ร่วมอุรักษ์และสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบันประเพณีที่หาได้ยาก การทำบุญผะเหวดหรือพระเวส มาจากพระเวสสันดร หรือบุญมหาชาติหรือชาวบ้านเรียกกันว่าบุญประจำปี กำหนดขึ้น2วัน คือวันรวม(วันโฮม)ประดับด้วยธง(ธุง)รูปสัตว์ต่างๆและดอกไม้แห้ง เช่น ดอกแสบง ลูกยางใหญ่ รางผึ้ง รังต่อ รังแตน รอบศาลาวัดอย่างสวยงาม ทั้งนี้ช่วงประมาณ4โมงเย็น ก็จะมีการแห่ผ้าผะเหวด
โดยงานในปีนี้มีไฮไลท์อยู่ที่ขบวนแห่ผะเหวด และการแห่หาบเงินหาบทอง มีการตั้งขบวนแห่ผะเหวด ที่บริเวณศาลากลางบ้านหมู่ที่12 ซึ่งสมมุติกันว่าเป็นป่า ตามเรื่องราวในพระเวสสันดรชาดก และเริ่มนำขบวนแห่ประกอบด้วยรถขบวน ขบวนฟ้อนรำ และขบวนผ้าผะเหวดเป็นผ้าซึ่งเขียนภาพเป็นเรื่องราวพระเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ที่แผงปริศนาธรรมไว้ในผ้าผะเหวด ที่ใช้ผ้าขาวสูงประมาณ1เมตร ยาว ถึง 100 เมตร. รวมระยะทางกว่า 2.5 กม. ผ่านไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลวังหิน ก่อนจะเข้ามาที่วัดยางงามโดยตลอดเส้นทางจะมีชาวบ้านทำน้ำหอมมาตั้งไว้ให้ผู้ที่แห่ผะเหวด เอาดอกไม้จุ่มเป็นการบูชาพระเวสสันดร จากชายป่าของหมู่บ้านเพื่อเข้าในหมู่บ้าน หรือ(เข้าเมือง) รุ่งเช้าประมาณตี4 หรือสี่นาฬิกา จะมีการแห่ข้าวพันก้อน มีการเทศมหาชาติทั้งวัน บ่ายคล้อยก็จะมีการแห่กัณฑ์หลอนไปที่วัด ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของงานมีความสนุกสนานมากที่เชื่อได้ว่าเมื่อได้กระทำไปแล้วจะทำให้ชุนชนเกิดความสงบสุขความสมัครสมานสามัคคี มีความอุดมสมบูรณ์ในอาชีพการเกษตรของชุมชน
ภายในงานบุญผะเหวด “มหกรรมเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก ครั้งที่8” มีกิจกรรมมากมาย เช่น การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การรำวงกลองยาว การแสดงฟ้อนรำจากโรงเรียนน้ำอ้อมประชาสรรค์ และแสดงเต้นบาสโลบ ของคณะชมรม แอโรบิค สภาวัฒนธรรมอำเภอวังโป่ง สร้างสีสันสร้างรอยยิ้มให้แก่ผู้ชมที่มาร่วมงาน และการจำหน่าย สินค้าโอท๊อป ราคาถูก ที่สำคัญได้ร่วมทำบุญเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแสองออกถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนโดยดึงเอาศาสนามาเป็นเครื่องยึดเนี่ยวจิตใจ
ภาพ/ข่าว เดชา มามลามาตย์/มนสิชา คล้ายแก้ว