อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

จ.ชัยภูมิ ยึดถือหีบน้ำอ้อยแบบโบราณสู้แล้ง หลังจากหลับไหลไปกว่า 30 ปี

1 min read

จ.ชัยภูมิ ยึดถือหีบน้ำอ้อยแบบโบราณสู้แล้ง หลังจากหลับไหลไปกว่า 30 ปี ชาวบ้านซับปลากั้ง หันมาทำน้ำตาลอ้อย แทนการส่งขายเข้าโรงงาน กำไลกว่า10เท่า นักท่องเที่ยวแห่ชมเครื่องหีบน้ำอ้อยโบราณ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า100ปี

วันที่ 7 มี.ค.63 นางสาคร โหล่งกลาง ชาวบ้านซับปลากั้ง ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เผยว่า ตนได้รับ เครื่องหีบอ้อยโบราณ เครื่องนี้มาเพราะเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ถูกนำกลับมาทำการปัดฝุ่น และทดลองหีบอ้อยอีกครั้ง หลังจากที่หลับใหล กลายเป็นท่อนไม้เก่าๆถูกทิ้งไว้ใต้ถุนบ้าน มาเป็นเวลานานกว่า30-40ปี หลังจากที่โลกเปลี่ยนไปจากการใช้แรงงานคนและสัตว์ มาเป็นใช้เครื่องจักรทำงานแทน เช่นเดียวกับเครื่องหีบอ้อยโบราณ เครื่องนี้ ที่ทำขึ้นมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เพื่อหีบเอาน้ำจากลำอ้อยที่ปลูก มาทำการต้มจนน้ำเหือดแห้งกลายเป็น ของเหล่ว ชาวบ้านเรืยกว่าน้ำอ้อย จากนั้นนำนำมาเทลงไปในแบบพิมพ์ที่ทำจากไม้ไผ่นำมาตัดเป็นปล้องสั้นยาวตามความต้องการ โดยมีผ้าด้ายดิบที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ น้ำได้ดี มาวางทับกองทรายที่เตรียมไว้ เมื่อเทน้ำอ้อยที่ร้อนๆลงไปในแบบพิมพ์ ทรายที่อยู่ใต้ผืนผ้า ก็จะทำหน้าที่ในการดูดซับความชื่นที่ผสมอยู่ในน้ำอ้อย จนแห้ง หลังจากนั้นก็กดน้ำอ้อยที่แห้งและแข็งตัวในแบบพิมพ์ ออกมากลายเป็นน้ำอ้อย ที่มีรสชาดหอมหวาน

ขั้นตอนสำคัญที่เป็นหัวใจของการทำน้ำอ้อย คือการหีบเอาน้ำในลำอ้อยแบบสดๆจนได้น้ำ ซึ่งลำอ้อยจะต้องผ่านขั้นตอนในการบีบอัด ซึ่งสมัยโบราณ มักจะใช้โค กระบือ หรือแรงคนช่วยกัน หมุนคันบังคับหีบอ้อย เดินเป็นวงกลม ต่อมาโลกเจริญขึ้น จากที่ใช้แรงงานคนและสัตว์ ก็หันมาใช้เครื่องจักรคือรถไถนาเดินตาม เข้ามาทำหน้าที่แทน ทำให้เกิดความสะดวกสบาย และที่สำคัญสามารถเพิ่มปริมาณงานได้มากว่าเดิมเป็นเท่าตัว ส่วนขั้นตอนการการต้มและทำเป็นน้ำอ้อย ยังคงใช้วิธีการแบบดั้งเดิม เช่นใช้แรงคนในการคนน้ำอ้อย,ใช้เตาฟืนที่ควบคุมความร้อนด้วยการถอยฟืนลดไฟ ซึ่งการใช้ฟืนในการต้มจะได้กลิ่นหอมของน้ำอ้อยแตกต่างจากการ ต้มด้วยเตาแก๊ส

ส่วนตลาดนั้นจะมีพ่อค้าแม่ค้าสั่งจองล่วงหน้า เนื่องจากปริมาณในการทำน้ำอ้อยแบบโบราณ สามารถทำได้เฉลี่ยวันละ20-30กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 60บาทมีรายได้วันละ 1,800 บาท/ครอบครัว ปัจจุบันชาวบ้านจะใช้วิธีลงแขก หีบอ้อย ซึ่งแต่ละครอบครัวจะสลับกันหีบ และช่วยกันโดยไม่มีค่าจ้าง ในอนาคตจะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำน้ำอ้อยโบราณ เพื่อเป็นรายได้ แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เพราะชาวบ้านซับปลากั้งส่วนใหญ่เป็นชาวสวนยาง หลังจากที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ ก็มีความพยายามที่จะหาอาชืพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ในครอบครัว

นายพงษ์ ประสงค์สุข ประธานกลุ่มสหกรณ์สวนยางลำประทาว ยอมรับว่าหลังจากที่ราคายางพาราตกต่ำ ส่งผลกระทบกับสมาชิกและครอบครัวเป็นอย่างมาก บางรายต้องยอมตัดต้นยางพาราทิ้งไป เนื่องจากทนแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนยางไม่ไหว การมองหาอาชืพเสริม จึงเป็นหนทางเดียวที่ชาวสาวนยาง จะอยู่รอดได้ และการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน ที่มีความรู้ด้านการทำน้ำตาลก้อนจากน้ำอ้อย มาทดลองทำดู ปรากฏว่าได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นอ้อยมีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก และขายได้เพียงตันละ600บาท ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่เมื่อนำมาทำเป็นน้ำตาลอ้อย ปรากฏว่าสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ60บาท ซึ่งเท่ากับว่าถ้านำอ้อยมาทำเป็นน้ำตาลอ้อย จะสามารถขายได้ตันละ60,000บาท ส่วนตลาดนั้นพบว่ามีความต้องการสูง แต่ชาวบ้านไม่สามารถผลิตได้ทันต่อความต้องการขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อเตรียมจดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน

นางสาคร โหล่งกลาง หัวหน้ากลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลอ้อย บ้านซับปลากั้ง ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ยืนยันว่าตนในฐานะทายาทที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำน้ำอ้อยแบบโบราณ จะยังคงรักษาสูตรดั้งเดิมไว้ให้ยั้งยืนต่อไป ทั้งขั้นตอน กระบวนการในการทำ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่ทำยังคงต้องใช้แบบเดิม ถือเป็นการอนุรักษ์ไว้ด้วย
นางสาวศรัณย์กร รุ่งรัตน์สิริภะกุล เจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ตนและทีมงานทราบข่าวจากการเข้าไปดูในเพจสออนคักโปรดักชั่น ที่เป็นเพจนำเสนอเรื่องอาชืพแปลก จึงเดินทางมาตามหาเพื่อพิสูจน์ความจริง หลังจากที่ได้มาสัมผัส ด้วยการลงมือทำเองทุกขั้นตอน และชิมแล้วยอมรับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ และตนจะได้กลับไปออกแบบวางแผนในการ ที่จะพัฒนาต่อยอด ผลิตภัณฑ์นี้ เพื่อจำหน่ายในออนไลน์ ส่วนชาวบ้านจะเป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น

ภาพ/ข่าว คำหอม ชุมชน 02 ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.