เงียบเหงา!! ชาว ต.นายางกลัก งดตักบาตร สงกรานต์ เพื่อป้องกันโควิด 19 (มีคลิป)
1 min read15 เมษายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาว บ้านนายางกลัก ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ในช่วงเคอร์ฟิว และอยู่ในช่วงเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าประชาชน และชาวบ้านทั่วไป ปฏิบัติตนตามมาตรการของคณะกรรมการโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด ทั้งอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล เป็นต้น
ส่วนผู้สูงอายุบางคนก็อยู่บ้านคนเพียงเดียว เนื่องจากลูกหลานไปทำงานที่กรุงเทพฯ บางคนไปมีครอบครัวและทำงานอยู่ต่างจังหวัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกๆปีที่ผ่านมา ลูกสาว ลูกชาย จะพาลูกๆหลานๆมาเยี่ยม พร้อมกับมีเสื้อผ้าตัวใหม่มาฝากปู่ -ฝากย่า ทำให้มีความสุขกันตามประสาชาวบ้าน นอกจากนี้ยังได้ร่วมทำบุญตามประเพณีต้อนรับปีใหม่ของขนบธรรมเนียมไทย แต่เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ที่ทางการห้ามมีการเคลื่อนย้ายบุคคล งดการเดินทาง และข้อห้ามต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 จึงจะทำให้ไม่มีโอกาสพบหน้าลูกหลาน ไม่ได้รดน้ำอวยพรให้กันเหมือนเคย ก็ได้แต่ส่งความคิดถึง และโทรศัพท์ติดต่อกัน โดยอวยพรให้ลูกหลานเพิ่มความระวัดระวังในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 ซึ่งได้แต่ปลอบใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกันว่า รอโอกาสหน้าฟ้าใหม่ หลังสถานการณ์ของโรคคลี่คลาย จึงจะได้มาพบกันส่วนบางคนก็มีทั้งลูกสาวและลูกเขยทำงานที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งปกติจะกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี แต่ปีนี้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหตุทำให้ลูกสาว ลูกเขย และ ลูกหลานต่างก็เดินทางมาเยี่ยมบ้านไม่ได้ ซึ่งผลกระทบและเป็นปัญหาที่ตามมาอีกคือ สถานประกอบการที่ลูกสาวลูกเขยทำงานอยู่หยุดกิจการชั่วคราว ตามประกาศของราชการ ทำขาดรายได้ ขณะที่มีรายจ่ายค่าครองชีพทุกวัน ด้วยความรักลูก บางผู้สูงอายุบางคน จึงได้ส่งอาหารแห้ง ข้าวสารไปให้ โดยส่งทางเคอรี่บ้าง ทางพัสดุไปรษณีย์บ้าง เพื่อให้ลูกไม่ขาดแคลนอาหาร และเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ถึงแม้ค่าฝากส่งจะสูงในแต่ละครั้ง ก็ยอม เพราะเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นห่วงลูกมาก ทั้งนี้ ก็รู้สึกผิดหวังและเหงามาก ที่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้พบหน้าลูก โดยติดต่อพูดคุยกันทางโทรศัพท์ และวีดีโอคอลหากัน ก็ช่วยผ่อยคลายความคิดถึงบ้าง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้สูงอายุที่ ต.นายางกลัก และ พื้นที่ใกล้เคียง จะรู้สึกเหงา ที่จะไม่ได้พบหน้าลูกหลานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ทุกคนก็มีความรู้สึกที่ดี ที่ลูกหลานไม่ได้เดินทาง เพราะจะได้ปลอดภัยจากการประสบอุบัติเหตุ และไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ ยังทำให้ประหยัดรายจ่ายจากการเดินทาง และไม่ได้สิ้นเปลืองค่าดื่มกินฉลองในช่วงสงกรานต์อีกด้วย
ส่วนเรื่องการทำบุญปกติ เป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปีคือวันมหาสงกรานต์โดยวัฒนธรรมเนียม ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย และยึดถือปฏิบัติมานับร้อยปีในวันดังกล่าวจะมีประชาชนเตรียมหุงข้าวต้มแกงเพื่อนำไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้า ชุดใหม่ สีสันสดใสโดยเฉพาะหนุ่มสาวเพราะจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันได้อย่างสะดวกแต่ก็ต้องผิดหวังและเมื่อทำบุญตักบาตรหรือเลี้ยงพระ เป็นที่เรียบร้อย จะมีการบังสกุลอธิษฐานของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆเช่นก่อเจดีย์ทรายซึ่งเป็นการขนทรายเข้าวัดสำหรับไว้ใช้ในงานก่อสร้างโบสถ์วิหารมีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเท่ากับเป็นการเผยแพร่ขยายพันธุ์สัตว์ให้คงอยู่ ไปชั่วลูกชั่วหลาน และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือการสรงน้ำพระการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่รวมไปจนถึงการเล่นสาดน้ำกันเองในหมู่หนุ่มสาวซึ่งสำหรับสงกรานต์ประจำปี 63 แตกต่างจากปีที่ผ่านมามากเนื่องจากในสถานการณ์ ไม่ปกติมีการ แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโลกโควิด 19 ภาคชีวิตประชาชนทั่วโลกหลายแสนคนจึงทำให้ รัฐบาลต้องงัด พ.ร.ก. ฉุกเฉินมาสู้กับโรคไวรัสโควิด 19 ล่าสุดวันนี้วันที่ 15 เมษายน 2563 เวลา 06.00 นผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ.วัดเขาหวดพนารักษ์ ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ สำหรับปีนี้ บรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงาไม่คึกคักเช่นปีที่ผ่านมาการทำบุญตักบาตรถูกงดเพราะหวั่นว่าการมารวมตัวของคนหมู่มากอาจจะมีบางคนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นำเชื้อมาแพร่ระบาดจึงถูกให้งดกิจกรรมทางศาสนาและวิธีการต่างๆ กรณีแพร่ระบาดของโรคโกวิทย์ 19 และวัดต่างๆ ภายในเขตตำบลนายางกลัก บางวัดถึงขั้นประกาศงดออกบิณฑบาตรเพราะเกรงจะติดเชื้อโควิชประกอบกับญาติโยมส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งทางวัด เห็นสุขภาพของญาติโยมเป็นปัจจัยสำคัญจึงงดการทำบุญตักบาตรดังกล่าวแต่ทางวัด ยังคงยึดถือ หลักเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ ให้การออกบิณฑบาตเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบัน
ภาพ/ข่าว คำหอม ชุมชน 02 ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ