กรมศิลปากรที่ 9 รุดตรวจสอบกลองสำริดโบราณ ที่ขุดพบอยู่ที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
1 min readเมื่อวันที่ 29 เม.ย.2563 นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี นำเจ้าหน้าที่ พร้อมเครื่องมือ ลงพื้นที่ตรวจสอบเก็บรายละเอียด กรณีมีการพบกลองสำริดโบราณ ในพื้นที่ทุ่งนาชาวบ้านคำอ้อม หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้าน นายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอคำชะอี เพื่อรอให้กรมศิลปากร จังหวัดอุบลราชธานีลงมาตรวจสอบ ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่และชาวบ้านใกล้เคียงที่รู้ข่าว ต่างพากันนำเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ธูปเทียน ตามความเชื่อ เพื่อเป็นการรับโชคลาภ ไม่ขาดสาย
นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ภายหลังที่ทางนายอำเภอคำชะอี ได้ทำหนังสือถึงเพื่อให้เดินทางมาตรวจสอบกรณีมีการพบกลองสำริดโบราณ เบื้องต้นจากการตรวจสอบ พบว่าเป็นกลองสำริดโบราณ ที่สร้างขึ้นจากทองเหลือง เป็นแร่ดีบุกผสมกับ ทองแดง ตรวจสอบจากหลักฐานขอมูลที่เคยค้นพบแล้ว ยืนยันเป็นกลองสำริดโบราณ จำแนกอยู่ในกลุ่มที่ 3 อายุจะอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 ปีขึ้น หรือที่เรียกกลองมโหระทึก ซึ่งถือเป็นกลอง ที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการหล่อในยุคโบราณ เพื่อนำมาประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ หรือเป็นกลองที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีข้อฟ้าขอฝน รวมถึงพิธีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ โดยมีการเขียนลวดลายตามหลักความเชื่อโหราศาสตร์ ที่สำคัญจะมีรูปกบติดอยู่บริเวณหน้ากลอง ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลเชื่อว่า รูปกบ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ ถือเป็นความโชคดีของชาวบ้าน อำเภอคำชะอี ที่มีการขุดพบกลองสำริดโบราณ ในครั้งนี้
สำหรับขั้นตอนการดูแลรักษาทางสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี จะดูแลรับผิดชอบจะได้มีการตรวจสอบบันทึกทำประวัติ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ และนำมาดูและเก็บรักษาที่สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี เพื่อให้ประชาชน ได้มาศึกษาเยี่ยมชม และจะจารึกลงใน พิพิธภัณฑ์ ว่าค้นพบในจังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้ลูกหลาน ได้สืบประวัติศาสตร์นี้ต่อไป
ภาพ/ข่าว ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร รายงานจากมุกดาหาร