อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

กรมการแพทย์แนะแนวสถานพยาบาลในการจัดหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward) สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในสถานพยาบาล (มีคลิป)

1 min read

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมการแพทย์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถีได้เยี่ยมชมการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward) สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID -19 ที่ได้รับการยืนยันแล้วเท่านั้น ณ โรงพยาบาลราชวิถี พร้อมได้แนะแนวทางสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศในเรื่องรูปแบบการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward)

การจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward) นั้นจัดใช้สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 ที่ได้รับการยืนยันผลแล้วว่าเป็น Positive แล้วเท่านั้นโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและห้องแยกหรือห้องความดันลบนั้นมีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย โดยปรับจากตึกคนไข้สามัญ ให้เป็นตึกคนไข้เฉพาะโรคเชื้อไวรัส COVID -19 และควรมี Anti Room เพื่อแยกส่วน Nerse Station ออกจากบริเวณหอผู้ป่วย และปรับใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับประตู ถังขยะ หรือการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยส่งยาและอาหารสำหรับผู้ช่วย เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ นายแพทย์สมศักดิ์ ยังได้เน้นย้ำหลักสำคัญ 2 ประการในการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรคดังนี้ การจัดการระบบไหลเวียนอากาศในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward) ดีที่สุดหากสามารถทำเป็นห้องความดันลบ ( modified negative) หากไม่พร้อมอาจใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็นจากด้านนอกห้องเข้ามาในห้อง และควรควบคุมทิศทางให้อากาศถ่ายเทไปในทิศทางเดียว ทางออกของลมอยู่ปลายทางตรงข้ามกับจุดต้นลม อาจมีพัดลมดูดอากาศอยู่บริเวณหัวเตียงของผู้ป่วยซึ่งควบคุมไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับออกมาที่ Anti Room เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์

สำหรับการจัดวางเตียงผู้ป่วยนั้น ควรคำนึงถึงทิศทางการถ่ายเทของอากาศด้วย ถ้ามีผู้ป่วยติดเชื้อมากอยู่ด้วยกันกับคนป่วยติดเชื้อน้อย คนป่วยติดเชื้อน้อยหรือเป็นนานจวนหายควรอยู่ต้นลมและผู้ป่วยที่เป็นมากอยู่จัดให้อยู่ปลายลม ส่วนการจัดจำนวนของเตียงในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward) ในแต่ละห้องนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละสถานพยาบาล โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือจะต้องจัดวางเตียงให้มีระยะห่างต่อกัน อย่างน้อย 1 เมตร

ทั้งนี้หากสถานพยาบาลมีห้องห้องแยกเดี่ยว หรือห้องความดันลบเพียงพอ อาจจะยังไม่ต้องจัดทำหอผู้ป่วยเฉพาะโรค เพราะการจัดเป็นห้องแยกเดี่ยวยังเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดเพราะลดการ contaminate เชิง Droplet ต่อกัน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การจัดทำหอผู้ป่วยเฉพาะโรค( Cohort ward) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพในการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19

นายแพทย์สมศักดิ์ ได้กล่าวอีกว่าโดยการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรค (Cohort ward)ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้วในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถาบันบำราศนราดูรในสังกัดกรมควบคุมโรค และได้เตรียมจัดทำหอผู้ป่วยเฉพาะโรคเพิ่มขึ้นอีกในโรงพยาบาลทหารอากาศ(สีกัน) โรงพยาบาลบางขุนเทียน สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลเอกชนในเครือกรุงเทพ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่อาจจะมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และขอความร่วมมือประชาชนในการสังเกตอาการตัวเองและคนในครอบครัว หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงให้แยกตัวสังเกตอาการตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และขอให้มั่นใจว่าทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนจะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่เพื่อผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.