อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

กรมวิทย์ฯเผยผลิตวัคซีนโควิด 19 ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนวัคซีนชนิดอื่น (มีคลิป)

1 min read

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลทดสอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของนักวิจัยไทย มั่นใจสามารถสร้างภูมิป้องกันได้ พร้อมพัฒนาเป็นวัคซีนต้นแบบและทดสอบในคนต่อไป ชี้เชื้อไวรัสโควิด 19 ไม่ซับซ้อนและสายพันธุ์ไม่ยุ่งยากนัก ทำให้การพัฒนาวัคซีนไม่ยุ่งยากมากเมื่อเทียบกับโรคเอดส์ หรือไข้เลือดออก เพราะไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ จึงทำให้การพัฒนาค่อนข้างยาก ประกอบกับมีความก้าวหน้าและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาวิจัยวัคซีนทำให้มีส่วนเร่งความสำเร็จได้เร็วขึ้น

นพ.โอภาส การ์ยกวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของประเทศไทยว่า ในขณะนี้มีหลายหน่วยงานและสถาบันการศึกษาที่หันมาร่วมกันพัฒนาและวิจัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ขณะนี้มีหลายหน่วยงานพัฒนาวัคซีนต้นแบบขึ้นมาแล้ว อย่างเช่น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาวัคซีนขึ้นมาหลายชนิดและทดสอบในหนูเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเลือดมาให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เราทดสอบว่ามีภูมิป้องกันโรคได้หรือไม่ โดยพบว่าวัคซีนหลายตัวที่ทางจุฬาฯดำเนินการ สามารถสร้างภูมิป้องกันโรคได้ ซึ่งขณะนี้ข้ามขั้นจากทดสอบในหนูไปทดสอบในลิงเรียบร้อยแล้ว คาดว่าผลจะได้ออกมาในเร็วๆนี้ ถ้าได้ผลดีขั้นตอนต่อไปคงต้องทดสอบในคนต่อไป

สำหรับการทดลองในคนจะมี 3 ขั้นตอน ระยะที่ 1 จะเป็นการทดสอบดูในเรื่องของความปลอดภัยในคน แต่อย่างไรก็ตามการมาทดสอบก็ถือว่าต้องมีความปลอดภัยอยู่ในระดับนึง เพราะเราทดสอบในลิงเรียบร้อยแล้วเพราะลิงมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ขั้นที่ 2 หลังจากทดลองความปลอดภัยแล้ว ก็คือการทดสอบดูว่า มันสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้รึเปล่า ส่วนขั้นที่ 3 เรียกได้ว่าเป็นขั้นสุดท้าย ก็จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม ในภาคปฏิบัติติจริงจะลงไปในพื้นที่และฉีดให้กับประชาชนจำนวนมาก และเปรียบเทียบกันว่าคนที่ฉีดวัคซีนกับคนที่ไม่ฉีดวัคซีนจะเกิดโรคแตกต่างกันไหม นี่จะเป็นจุดสุดท้าย ถ้าสามารถทดสอบในคนแล้วว่ามีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันโรคได้จริง จากนั้นจะเข้าสู่ขบวนการการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่อไป

เนื่องจากประเทศไทยมีสรรพกำลัง และมีบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวัคซีน แต่ยังไม่ครบทุกวงจร อย่างเช่น มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะชำนาญในเรื่องของการวิจัยพัฒนา การทดสอบ ส่วนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความชำนาญในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพ ดูว่าวัคซีนนั้นทดสอบแล้วมีภูมิคุ้มกันขึ้นหรือไม่ ทางองค์การเภสัชกรรมมีความสามารถในเรื่องการผลิต เพราะฉะนั้นจะต้องเอาทุกหน่วยงานของประเทศไทยมารวมกัน เพื่อที่เราจะพัฒนาวัคซีนโควิด-19 หรือที่เราเรียกว่าทีมประเทศไทย ขณะนี้เราร่วมมือกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นแม่ข่าย เป็นจุดประสานงานหลักที่สำคัญ

ข้อมูล ถือว่าเป็นนโยบายของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ท่านให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ถึงขนาดท่านประกาศชัดเจนเลยว่าจะเป็นหนูทดลองสำหรับการพัฒนาวัคซีนที่ประเทศไทยพัฒนาขึ้น เนื่องจากท่านให้ความเชื่อมั่น และสนับสนุนทีมในการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยทุกคน ประเทศไทยเรามีสรรพกำลัง และมีบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวัคซีน แต่เรายังไม่ครบทุกวงจร อย่างเช่น มหาลัยเขาจะชำนาญในเรื่องของการวิจัยพัฒนา การทดสอบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็มีความชำนาญในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพ ดูว่าวัคซีนนั้นทดสอบแล้วมีภูมิคุ้มกันขึ้นหรือไม่ ทางองค์การเภสัชกรรมก็มีความสามารถในเรื่องการผลิต เพราะฉะนั้นจะต้องเอาทุกหน่วยงานของประเทศไทยมารวมกัน เพื่อที่เราจะพัฒนาวัคซีนโควิด-19 หรือที่เราเรียกว่าทีมประเทศไทย ขณะนี้เราร่วมมือกทั้งกับทางภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นแม่ข่าย เป็นจุดประสานงานหลักที่สำคัญและเป็นไปตามภารกิจของเขา ขณะนี้มีหลายหน่วยงานพัฒนาวัคซีนต้นแบบขึ้นมาแล้ว อย่าเช่นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาวัคซีนขึ้นมาหลายชนิดและทดสอบในหนูเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเลือดมาให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เราทดสอบว่ามีภูมิป้องกันโรคได้รึเปล่า ผมใช้คำว่าภูมิป้องกันเลยนะครับ ก็พบว่าวัคซีนหลายตัวที่ทางจุฬาดำเนินการ สามารถสร้างภูมิป้องกันโรคได้ ซึ่งขณะนี้เขาก็ข้ามขั้นจากหนูไปทดสอบในลิงเรียบร้อยแล้ว ก็คาดว่าผลจะได้ออกมาในเร็วๆนี้ ถ้าได้ผลดีขั้นตอนต่อไปก็คงต้องทดสอบในคนอย่างที่ท่านรองนายกได้พูดถึงนะครับ ท่านยินดีเป็นอาสาสมัครคนแรก

การทดลองในคนก็จะมี3ขั้นตอน ระยะที่ 1 จะเป็นการทดสอบดูในเรื่องของความปลอดภัยในคน แต่อย่างไรก็ตามการมาทดสอบก็ถือว่าต้องมีความปลอดภัยอยู่ในระดับนึง เพราะเราทดสอบในลิงเรียบร้อยแล้วเพราะลิงมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ขั้นที่ 2 หลังจากทดลองความปลอดภัยแล้ว ก็คือการทดสอบดูว่า มันสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้รึเปล่า ส่วนขั้นที่ 3 เรียกได้ว่าเป็นขั้นสุดท้าย ก็จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม ในภาคปฏิบัติติจริงจะลงไปในพื้นที่และฉีดให้กับประชาชนจำนวนมาก และเปรียบเทียบกันว่าคนที่ฉีดวัคซีนกับคนที่ไม่ฉีดวัคซีนจะเกิดโรคแตกต่างกันไหม นี่จะเป็นจุดสุดท้าย ถ้าสามารถทดสอบในคนแล้วว่ามีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันโรคได้จริง จากนั้นจะเข้าสู่ขบวนการการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่อไปเป็นต้น ขณะนี้เราอยู่ในขั้นตอนที่วัคซีนบางตัวของเราทดสอบในลิงแล้ว กำลังจะเจาะเลือดเพื่อดูว่าป้องกันโรคได้รึเปล่าครับผม

กระบวนการการผลิตวัคซีนใช้เวลาค่อนข้างยาวนะครับ โดยทั่วไป 5 ปีสำเร็จนี่ถือว่าเก่งมากแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น วัคซีนโรคเอดส์พัฒนากันมา 30 ปียังไม่ประสบความสำเร็จ หรือวัคซีนไข้เลือดออกประสบความสำเร็จแล้วแต่ประสิทธิภาพยังไม่ค่อยดีนักซึ่งก็พัฒนากันมา 30-40 ปีแล้วเช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เชื้อมันมีความซับซ้อนรึเปล่า หรือมีหลายสายพันธุ์รึเปล่า สำหรับเชื้อโควิดข้อดีก็คือ เชื้อมันไม่ค่อยซับซ้อนมากนัก และสายพันธุ์ไม่ยุ่งยากนัก การพัฒนาวัคซีนจะไม่ยุ่งยากมากเมื่อเทียบกับโรคเอดส์ หรือไข้เลือดออก เพราะไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ จึงทำให้การพัฒนาค่อนข้างยาก อีกประการนึงที่เป็นข้อดีก็คือเรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาวิจัยวัคซีน เดิมการทำวัคซีนเราต้องนำเชื้อโรคทำให้มันตายและไปฉีดในคน หรือทำให้มันอ่อนแรงไม่เกิดโรคเอาไปฉีดในคน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ในระยะหลังเราสามารถเอาชิ้นส่วนบางตัวของเชื้อโรคเอามากระตุ้นในคนได้ เพราะฉะนั้นวิธีการทำจะค่อนข้างง่ายกว่า ความยุ่งยากน้อยกว่า ทำให้ตอนต้นเราสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น ถือว่าโควิดเป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพของการผลิตวัคซีนทั่วโลกได้ดี ตอนนี้ก็มีวัคซีนต้นแบบ โรคมันเกิดขึ้นมาแค่ 5-6 เดือน เราสามารถมีวัคซีนตันแบบทดลองในสัตว์ทดลอง และบางคนก็ทดลองในคนระยะ 1-2 ไปเรียบร้อยแล้ว ถือว่าเทคโนโลยีช่วยให้เราพัฒนาวัคซีนได้เร็วขึ้น ก็หวังว่าจะประสบความสำเร็จ จะโชคดีที่จะมีวัคซีนมาฉีดให้คนทั้งโลกครับ

ภาพ/ข่าว สมัย นิกูลรัมย์

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.