จังหวัดลำพูน ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มความชุ่มขึ้นให้ผืนป่า วัดดอยขะม้อ “ลำพูน 1,300 ปี 1,300 ฝาย” (มีคลิป)
1 min readจังหวัดลำพูน ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มความชุ่มขึ้นให้ผืนป่า วัดดอยขะม้อ “ลำพูน 1,300 ปี 1,300 ฝาย” เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในระยะยั่งยืน
วันที่ (4 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ บริเวณวัดดอยขะม้อ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มความชุ่มขึ้นให้ผืนป่า วัดดอยขะม้อ “ลำพูน 1,300 ปี 1,300 ฝาย” เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในระยะยั่งยืน โดยมี นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ ปลัดจังหวัดลำพูน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาคเอกชนบริษัทในเครือนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และส่วนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ผู้นำชมชน ประชาชน และจิตอาสาในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม
นายประกอบ ยอดยา ปลัดอาวุโสอำเภอเมือง รักษาราชการนายอำเภอเมืองลำพูน กล่าวว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน มักเกิดการเผาในที่โล่ง การเผาในพื้นที่ป่า ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมาเกิดจุดความร้อนในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน จำนวน 252 จด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ รองลงมาคือ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่เกษตรและพื้นที่ชุมชน ตามลำดับ ส่งผลกระทบที่ตามมาทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและที่สำคัญคือสุขภาพประชาชน
อำเภอเมืองลำพูน จึงร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำพูน และเทศบาลตำบลมะเขือแจ้ จัดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มความชุ่มขึ้นให้ผืนป่า วัดดอยขะม้อ “ลำพูน 1,300 ปี 1,300 ฝาย” ประชารัฐลำพูนร่วมใจลดภัย PM 2.5 บูรณาการ CSR กับภาคเอกชน ตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยมีกิจกรรมการร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 10 ฝ่าย ในบริเวณพื้นที่วัดดอยขะม้อ พื้นที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีสำคัญของจังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่า และป้องกันการเกิดไฟป่าในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป
ด้าน นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า จังหวัดลำพูน ประสบปัญหามลพิษหมอกควันมาทุกปี โดยสาเหตุเกิดจากการผาเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในพื้นที่ป่า พื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ริมทาง การเผากิ่งไม้ใบไม้ และการเผาขยะในชุมชน รวมทั้งฝุ่นควันที่เกิดจากการจราจร การก่อสร้าง ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ก็ต้องแก้ไขโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน
จังหวัดลำพูน จึงได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะเตรียมการ ระยะรับมือ และระยะสร้างความยั่งยืน อาทิ การทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่า การลาดตระเวนดับไฟป่า การสร้างพื้นทีปลอดฝุ่น (Safety Zone) โดยการดำเนินงานที่สำคัญในระยะสร้างความยั่งยืน ได้แก่ มาตรการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดลำพูน “ลำพูน 1,300 ปี 1,300 ฝาย” ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดลำพูน ได้ร่วมกันดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ที่ดำเนินการตามเป้าหมายแล้วเสร็จ จำนวน 416 ฝาย ในปี 2564 มีเป้าหมายในการดำเนินการจำนวน 484 ฝาย และในปี 2565 มีเป้าหมายในการดำเนินการจำนวน 400 ฝาย ซึ่งการดำเนินงานกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำ ในปี 2564 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ตำบลก้อ อำเภอลี้ ชมรมผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลกรณมหาวิทยาลัย อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เทศบาลตำบลก้อ และชาวบ้านในตำบลก้อ ได้ร่วมกันดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 30 ฝาย ถือเป็นต้นแบบของความร่วมมือที่เกิดจากการบูรณาการทุกภาคส่วน และในวันนี้การที่หลากหลายภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน บริษัททางร้านในเครือนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ประชาชน และจิตอาสาในพื้นที่ ที่มาร่วมกันในกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนป่า ณ ที่นี้ คือ วัดดอยขะม้อ พื้นที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีสำคัญของจังหวัดลำพูน ถือเป็นการเริ่มต้นการบูรณาการในการทำงานร่วมกันในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน ที่สามารถขยายผลสู่พื้นที่อำเภออื่นๆ ต่อไป ขอให้ทุกส่วนร่วมกันเฝ้าระวัง ป้องกัน การเผาทั้งในพื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชน พื้นที่รกร้างว่างเปล่า และพื้นที่ริมทาง และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวซ้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด โดยอัตโนมัติ ตามระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ตามระดับของคำดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI ที่แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง
ภาพ/ข่าว กฤตยชญ์ พิงคะสัน ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน รายงาน