พฤหัส. เม.ย. 24th, 2025

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. ยัน เครื่องหมายตัว T บนเหล็กข้ออ้อยในงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างสามารถใช้งานกับอาคารสูงได้ปกติ ไม่มีผลต่อโครงสร้าง ไม่เชื่อว่าเหล็กเป็นสาเหตุให้ สตง.ถล่ม

1 min read

ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. ยัน เครื่องหมายตัว T บนเหล็กข้ออ้อยในงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างสามารถใช้งานกับอาคารสูงได้ปกติ ไม่มีผลต่อโครงสร้าง และใช้ในวงการมานานกว่า 20 ปีแล้ว / ส่วนตัวไม่เชื่อว่าเหล็กเป็นสาเหตุให้ สตง.ถล่ม

 เมื่อเวลา 14:00 น. ที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) - รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายกฤษฎา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายนพดล ใจซื่อ อุปนายกวิชาการสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแถลงเกี่ยวกับเรื่องเหล็กเส้นที่ใช้สร้างตึก สตง. หลังเกิดเหตุถล่ม โดย รศ.ดร.สมิตร ระบุว่า ชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยตาม มอก.24-2559 มี 3 ชั้นคุณภาพ คือ SD30 , SD40 และ SD50 / ส่วนเครื่องหมาย T เป็นการบอกวิธีการผลิตเท่านั้น 

 อธิบายตามหลักการคือ เหล็กที่มีเครื่องหมาย T เวลาเอาออกจากเตา ขึ้นรูปแล้ว ก็จะเอาละอองน้ำไปพ่นใส่ ทำให้เย็นอย่างเร็ว และนำไปอบอีกที ทำให้ผิวด้านนอกแข็งมากกว่าข้างใน / แต่เหล็กที่ไม่มีตัว T พอเอาออกจากเตาไม่ได้มีการทำให้เย็น เป็นการปล่อยวางไว้ให้เย็นตัวเอง จากนั้นมีการเพิ่มสารเคมีบางตัวเพื่อเสริมความแข็งแรง // ทำให้เหล็กตัว T มีราคาถูกกว่าเพราะไม่มีการเพิ่มสารเคมี ซึ่งทุกคนที่ทำงานด้านวิศวกรรับรู้มากว่า 20 ปี / และในการประมูลงาน จะต้องมีการสอบถามผู้ว่าจ้างก่อนว่ายินดีให้ใช้เหล็ก T ไหม ส่วนมากจะยินยอม เพราะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของเจ้าของงาน 

 เหล็กที่ส่งมาจากโรงงาน เมื่อมาถึงหน้างานแล้วจะมีการทดสอบมาตรฐานก่อนใช้งาน โดยถ้าส่งเหล็กมา 300 เส้นจะมีการสุ่มทดสอบ 3 เส้น / 400 เส้นสุ่ม 4 เส้น ในการทดสอบจะมี 3 อย่าง คือทดสอบแรงเค้น สูงสุดแค่ไหน / ทดสอบความยืด และ ทดสอบดัดโค้ง ว่าจะเกิดการแตกหรือไม่ / ส่งไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็ก, มหาวิทยาลัยที่มีการสอนโยธา, แขวงทางหลวง หรือกรมโยธาธิการที่มีเครื่องทดสอบ ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์จะทราบผล ถ้าไม่ผ่านมาตราฐาน เหล็กทั้งกองจะไม่สามารถใช้ได้ / แต่ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบไม่พบเหล็กไม่ผ่านมาตราฐาน แต่เจอเหล็กน้ำหนักเบาปริมาณเยอะขึ้น ซึ่งก็ถือว่าไม่ผ่านมาตราฐานอยู่ดี

 เหล็กที่กำลังสูงจะมีความแข็งมากและจะมีแรงจัดโค้งได้น้อย อย่างเหล็ก SD50 และ SD50T / ถ้าต้องมีการดัดโครงเหล็กวิศวกรจะทราบดีว่าควรใช้เหล็ก SD40 หรือ SD40T มากกว่า ในการทำเหล็กปลอก 

 เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเหล็ก T หรือ Non T สามารถใช้งานได้เท่ากัน สามารถใช้ก่อสร้างอาคารสูงได้ และใช้ได้ทุกงานคอนกรีตเสริมเหล็กทุกประเภท

 นอกจากนี้ รศ.ดร.สมิตร ยังให้ความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมว่า ในกรณีที่ตึก สตง.แห่งใหม่ถล่มนั้น เชื่อว่าเหล็กไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นปัจจัยด้านไหน

 ด้านนายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงผลกระทบต่องานก่อสร้างหลังมีความสับสนเรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เหล็กตัว T สามารถใช้ในการก่อสร้างได้หรือไม่ว่า เนื่องจากปัจจุบันมีบางส่วนราชการมีหนังสือเวียนภายในแนะนำไม่ควรให้ใช้เหล็กที่มีตัว T ในการก่อสร้าง ทำให้ผู้ประกอบการก่อสร้างได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการสต๊อกวัสดุไว้แล้ว เพราะจากการที่มีเหล็กในสต๊อกก็ไม่รู้ว่าจะนำไปขายให้กับใคร เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก อีกทั้งหากมีการแนะนำไม่ให้ใช้เหล็กข้ออ้อยตัวT ก็จะทำให้ราคาของเหล็ก Non T ก็จะพุ่งสูงขึ้น

จะทำให้เหล็กไม่เพียงพอ และขาดตลาด รวมทั้งการทำงานก็จะช้าลงเพราะไม่มีของในสต๊อก

 นายกฤษดา ระบุเพิ่มเติมว่า ส่วนเหล็กจากอาคาร สตง.ถล่มที่นำมาตรวจสอบ ยอมรับว่าไม่ผ่านมาตรฐาน แต่ทั่วไปร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน .


Loading…

ใส่ความเห็น

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.